วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

บริษัท  Oishi Small  จำกัด


ความเป็นมา 
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 คุณตัน ภาสกรนที ได้เริ่มเปิดให้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นตลอดทั้งวันแห่งแรกในประเทศไทย ที่สุขุมวิท 55 ภายใต้ชื่อ โออิชิต่อมาในปี 2543 จึงได้จัดตั้ง บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ( บริษัทฯ” ) เดิมชื่อ บริษัท โออิชิ เรสเตอร์รอง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น และในปี 2545 บริษัทฯ มีการปรับโครงสร้างการดำเนินงานพื่อดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นหลายรูปแบบ รวมทั้งร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ ส่งผลให้บริษัทฯ มีทุนจุดทะเบียนและขำระแล้วเป็น 300 ล้านบาท และมีบริษัทย่อยจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท โออิชิ ราเมน จำกัด ประกอบธุรกิจร้าอาหารประเภทบะหมี่ญี่ปุ่น และ บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัดประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียว ภายใต้ชื่อ โออิชิ กรีนทีและทำหน้าที่เป็นครัวกลางให้กับร้านอาหารของกลุ่มบริษัทฯในปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจหลัก 2 ประเภท ได้แก่ ร้านอาหารญี่ปุ่นและร้านเบเกอรี่ แบ่งออกเป็น
1. ร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทบุฟเฟ่ต์ ภายใต้ชื่อ โออิชิ บุฟเฟ่ต์” “โออิชิ เอ็กซ์เพรส” “ชาบูชิและ โออิชิ แกรนด์” 
2. ร้านอาหารประเภทตามสั่ง ภายใต้ชื่อ โออิชิ ราเมน” “โออิชิ ซูชิบาร์” “ล็อก โฮม” “โอเค สุกี้” 
3. ร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ ภายใต้ชื่อ “IN&OUT the Bakery Cafe” และ “Cha for Tea” รวมถึง บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่และจัดส่งถึงบ้าน และธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น ธุรกิจเครื่องดื่มประเภทชาเขียว ภายใต้ชื่อ โออิชิ กรีนทีซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 บริษัทฯ มีสาขาของร้านอาหารรวมทั้งสิ้น 87 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, พัทยา และชลบุรี จำนวนรวม 83 สาขา และอีก 4 สาขาในจังหวัดภูเก็ต เปิดเป็นธุรกิจในระบบแฟรนไชส์
บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม ตั้งแต่ปี 2545 โดยว่าจ้างผู้ผลิตภายนอกผลิตเครื่องดื่มดังกล่าวขนาด 350 มิลลิลิตร ต่อมาในไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 ทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มชาเชียวพร้อมดื่ม จึงได้เริ่มดำเนินการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชาเชียว ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ทั้งสิ้นจำนวน 901 ล้านบาท และได้ลงทุนไปแล้วจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวน 801 ล้านบาท  
ปี 2547 แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะไม่เติบโตตามเป้าหมายตามที่รัฐบาลวางไว้ อันเป็นผลกระทบจากสภาวะความผันผวนของราคาน้ำมัน การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์วิกฤตภาคใต้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว และปรับตัวอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่บริษัทฯ ได้วางไว้ อันส่งผลให้ปี 2547 เป็นอีกปีหนึ่งที่บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างการเติบโตทั้งรายได้และกำไร และคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผลประกอบการของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2547 (รอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะจากธุรกิจชาเขียวที่มีอัตรากำลังการผลิตเต็มที่ ณ สิ้นปี 2547 โดยบริษัทมีรายได้จากการขายปี 2547 เท่ากับ 3,272 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณ 1,972 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 152 โดยรายได้ส่วนที่เพิ่มเกิดจากธุรกิจชาเขียว อัตราร้อยละ 1,106 และจากธุรกิจอาหาร อัตราร้อยละ 15 ตามลำดับ
ในส่วนกำไรสุทธิปี 2547 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 487 ล้านบาท โดยปรับเพิ่มขึ้น 467 ล้านบาท หรือร้อยละ 2,371 เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 20 ล้านบาท 

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 375 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 187.5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท เป็นทุนชำระแล้วจำนวน 375 ล้านบาท 
บริษัท Oishi Small Group จำกัด เป็นธุรกิจแฟรนไชส์  (Franchise) Oishi Group จำกัด (มหาชน) ได้ทำการเปิดบริษัทมาเพื่อขยายสาขาที่อำเภอหัวหินในปี พ.ศ. 2554 โดยมีจำนวนแผนกรวม 9 แผนก มีพนักงานทั้งหมด 192 คน คือ แผนกฝ่ายบุคคล 5 คน , ฝ่ายบริหาร 10 คน,ฝ่ายการตลาด 10 คน, ฝ่ายการผลิต 50 คน , ฝ่ายบัญชี 12 คน, ฝ่ายจัดเก็บ 50 คน, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 20 คน, ฝ่ายการส่งออกสินค้า 15 คน และฝ่ายจัดซื้อ 20 คน 

นโยบาย
                คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายให้มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงสิทธิของ ผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวตามกฎหมาย หรือตามข้อตกลงที่มีกับบริษัท และไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้น
คณะกรรมการบริษัทมีความตั้งใจในการที่จะพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างเสริม ผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับกิจการ และควรเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นได้รับทราบอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทตระหนักดีว่า ผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของบริษัทเกิดขึ้นจากการได้รับความสนับสนุนที่ดีจากผู้มีส่วนได้เสีย ( Stackholders ) กลุ่มต่างๆ จึงได้กำหนดนโยบายที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้ที่มีส่วนได้เสียในการสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน และดูแลให้ความมั่นใจว่าผู้มีส่วนได้เสียทุกรายจะได้รับการคุ้มครอง และปฏิบัติด้วยดี


ภารกิจหลักของบริษัท
            1. นำเสนอสิ่งดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค
            2. ทำให้มีความพึงพอใจในสินค้า
วัตถุประสงค์ของบริษัท
            1.  เพื่อความมั่งคงของกิจการ และความเจริญเติบโตของธุรกิจ
2. เพื่อความตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีที่สิ้นสุด
3. เพื่อแสวงหาผลตอบแทนสูงสุด นั้นคือ “กำไร”
4. ต้องการให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ
เป้าหมายของบริษัท
                คือ สร้างกำไรให้ได้สูงสุด
ความหมายแต่ละแผนก
                “กรรมการผู้จัดการ” เป็นคนที่มีความรับผิดชอบในการดำเนินชีวิตประจำวันของบริษัท หรือองค์กรในบางพื้นที่ของโลกคำว่า “กรรมการผู้จัดการ” เทียบเท่ากับ “หัวหน้า” ข้อมูลที่หัวหน้าผู้บริหารของบริษัทไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการบริษัททั้งหมดหรือเพียงส่วนหนึ่งในกรรมการบริหารมีจำนวนของความรับผิดชอบ
                “รองกรรมการผู้จัดการ” มีอำนาจรองลงมาจากกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่กำหนกนโยบาย กำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับทิศทางของนโยบายองค์กร ช่วยการวางแผน จัดโครงสร้างหน่วยงาน ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ฯลฯ
                “ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ” ทำหน้าที่ในการสนับสนุน หรือเห็นชอบแต่นโยบายของแต่ละหน่วยงานในองค์กร และ คอยช่วยวางแผน หรือ แนะนำ รองกรรมการผู้จัดการ

“ฝ่ายจัดซื้อ”  หมายถึงธุรกิจหรือองค์กรที่พยายามสำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร มีหน้าที่ จัดการหาซื้ออุปกรณ์ในการผลิต, วัตถุดิบในการผลิต , บรรจุภัณฑ์

                “ฝ่ายจัดเก็บ” ทำหน้าที่รับสินค้าจากทางบริษัทที่ส่งสินค้ามาให้แล้วทำการจัดเก็บไว้เพื่อส่งต่อให้ยังฝ่ายขายทางตลาดต่อไป

                “ฝ่ายบัญชี” ทำหน้าที่ทางด้านการเงินซึ่งเป็นฝ่ายมี่สำคัญมากที่สุดอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าได้เพราะงานในทุกด้านต้องมีการใช้เงิน รายรับ-รายจ่ายก็จะต้องผ่านทางฝ่ายบัญชี

                “ฝ่ายบริหาร” ทำหน้าที่จัดการต่อข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ทางแต่ละฝ่ายเสนอขึ้นมาหรือให้คำแนะนำต่างๆ

                “ฝ่ายประชาสัมพันธ์” ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก้ผู้บริโภค รวมทั้ง นำเสนอสินค้าใหม่ๆ ในทุกด้าน

                “ฝ่ายการตลาด” ทำหน้าที่ในการศึกษาหรือวิเคราะห์ตลาดดูหุ้นส่วน ตรวจสอบคู่แข่งให้การแข่งขันทางการตลาด จัดการโปรโมชั่นต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภค

                “ฝ่ายบุคคล” มีหน้าที่ จัดทำประวัติพนักงาน, ประวัติการทำงานของพนักงาน, จัดหาตำแหน่ง หน้าที่ที่เหมาะสมให้กัลป์พนักงาน รวมทั้ง การรับพนักงานเพิ่ม

                “ฝ่ายการผลิต” มีหน้าที่ผลิตสินค้าให้ตรงตามแนวนโยบายที่กำหนด, ผลิตสินค้าให้ครบตรงสูตรสินค้า, สะอาด และรวดเร็วตามวันกำหนด

“ฝ่ายการส่งออกสินค้า” มีหน้าที่ จัดสินค้าส่งออกตามร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ


ปัญหาภายในแต่ละแผนก
1.  ฝ่ายบัญชี  มีปัญหาคือ
                - การได้รับข้อมูลและเอกสารประกอบการลงทะเบียนล่าช้า
                - ระบบคอมพิวเตอร์ล้าสมัย หน่วยความจำน้อย ซึ่งทำให้การประมวลผลข้อมูลล่าช้า
                -เอกสารมีจำนวนมากเกิน ทำให้การทำงานล่าช้า เนื่องจากเสียเวลาในการค้นหาเอกสาร
                -การค้นหาเอกสารยากเนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก และเสี่ยงต่อการสูญหาย
2ฝ่ายจัดซื้อ มีปัญหา คือ
                - ปัญหาจากระบบคอมพิวเตอร์ล้าสมัย หน่วยความจำน้อย ทำให้การประมวลผลข้อมูลช้า
                -มีการสั่งซื้อโดยไม่ได้ทำเอกสารทันที หรือ เอกสารไม่ครบถ้วน ส่วนมากเกิดขึ้นในกรณีสั่งซื้อเร่งด่วน
                -ในการจัดซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ บางครั้ง อาจได้ไม่ตรงตามความต้องการ
                -วัตถุดิบ/อุปกรณ์ ขาดตลาด
3. ฝ่ายจัดเก็บ มีปัญหา คือ
                -จำนวนสินค้าที่ตรวจรับไม่ตรงกับใบที่สั่งซื้อ
                -การหาเอกสารใบสั่งซื้อเป็นการยาก เนื่องจาก เอกสารมีจำนวนมาก เสี่ยงต่อการสูญหาย และ การตกหล่นของสินค้า
                -พื้นที่จัดเก็บสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ
4. ฝ่ายบุคคล มีปัญหา คือ
                -ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่า พนักงานทำงานจริงหรือไม่
                -คอมพิวเตอร์ล้าสมัยทำให้การกรอง/แก้ไขประวัติพนักงานเป็นไปอย่างยากและล่าช้า
                -มีข้อมูลบางคนไม่ครบ
                -ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่า เวลาเข้า-ออกงานจากพนักงานของแต่ละคนจริงหรือไม่
5. ฝ่ายการผลิต มีปัญหา คือ
                - เครื่องจักรมีความเก่าทำให้ผลิตสินค้าได้ช้า
                - ผลิตสินค้าได้ไม่ครบตามต้องการเนื่องจากขาดวัตถุดิบในการผลิต
                - ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าที่ผลิตสินค้าได้ไม่ทันตามเวลา เกิดจาการอู้งานของพนักงาน
                - พนักงานผลิต ต้องสะอาดแต่งกายรัดกุมมิดชิด และมีความระมัดระวังให้มาก
6. ฝ่ายการตลาด มีปัญหา คือ
                -อัพเดทข้อมูลการตลาดไม่ทัน ตลาดคู้แข่ง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ล้าช้า
                - จัดการโปรโมชั่นให้กับผู้บริโภคได้ยาก เพราะขาดข้อมูล
7. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีปัญหา คือ
                 - ได้พนักงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง / ไม่ใส่ใจในสินค้า
                - มักจะเกิดการงานระหว่างพนักงานในฝ่ายประชาสัมพันธ์
                - บางครั้งการประชาสัมพันธ์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
                - การประชาสัมพันธ์สินค้าตามสถานที่ต่างๆเป็นไปอย่างลำบาก เพราะจารจรติดขัด
8. ฝ่ายการส่งออกสินค้า มีปัญหา คือ
                - จำนวนสินค้าไม่ตรงตามใบเอกสารที่ได้รับ
                - ส่งสินค้าตกหล่น หรือ ไม่ครบเนืองจากสินค้าไม่ครบตามที่กล่าวมา
                - ส่งสินค้าไม่ทันหรือไม่ตรงตามวันเนื่องจากการจราจรติดขัด
                - หากบิลสินค้าไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความเสียหายได้

ปัญหาระหว่างแต่ละแผนก
1 ฝ่ายบัญชีกับฝ่ายจัดซื้อ
-เวลาจัดการซื้อของที่บริษัทต้องการไม่ตรงกับบัญชีที่ได้
-พนักงานบัญชีทำทำบัญชีที่ต้องจัดซื้อสินค้าไม่ชัดเจน
-ค่าอุปกรณ์ที่จัดซื้อจำนวนเงินไม่ตรงกัน
-เงินไม่พอที่จะทำการสั่งมัดจำสินค้า
2 ฝ่ายบุคคลกับฝ่ายบัญชี
-จ่ายเงินเดือนไม่ตรงกับการทำงานของพนักงาน
-พนักงานไม่ได้เงินเดือนตรงที่พนักงานทำงาน
-เงินเดือนที่ได้ไม่ตรงกับพนักงานของบริษัท
-ฝ่ายบุคคลไม่รู้จำนวนพนักงานที่แน่นอน
3 ฝ่ายบัญชีกับฝ่ายจัดเก็บ
-จัดเก็บสินค้าที่มีไม่ตรงกับบัญชีที่ส่งให้กับฝ่ายบัญชี
-บัญชีเกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้าเสียหาย
-สินค้าที่จัดเก็บไม่มีการบันทึกให้กับฝ่ายบัญชี
-ฝ่ายบัญชีมีรายชื่อสินค้าที่จัดเก็บไม่ครบ
4 ฝ่ายคลังสินค้ากับฝ่ายจัดซื้อ
-ฝ่ายจัดซื้อไม่รู้อุปกรณ์ที่จะนำมาผลิตสินค้า
-วัสดุดิบบางตัวไม่มีคุณภาพ
-สินค้าบางตัวขาดตลาด
ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1. ระบบบัญชีแยกประเภท
2. ระบบคำนวณเงินเดือน
3. ระบบตรวจสอบวัตถุสินค้า
4. ระบบงานบุคคล
5. ระบบจัดเก็บสินค้า
6. ระบบการส่งสินค้า
7. ระบบการขายสินค้า
8. ระบบประชาสัมพันธ์สินค้า







การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
ขั้นตอนการค้นหาและเลือกสรร โครงการที่ต้องการพัฒนา
1.  ค้นหาระบบที่ต้องการพัฒนา
จากการที่ได้สำรวจปัญหาของแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้
                1. ระบบการขายสินค้า
                2. ระบบบุคคล
                3. ระบบประชาสัมพันธ์
ทางบริษัทได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบของบริษัททั้งสิ้น 350,000 บาท
2. จำแนกและจัดกลุ่มระบบ
ระบบทั้ง 3 ระบบที่ค้นหามามีวัตถุประสงค์ของแต่ละระบบดังนี้
1. ระบบการตลาด
                มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการตลาดของสินค้า สามารถสั่งสินค้าได้ง่ายมากขึ้น
2. ระบบบุคคล
                มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบการทำงานของพนักงานและตรวจสอบความถูกต้องของพนักงาน
3. ระบบประชาสัมพันธ์
                มีวัตถุประสงค์ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าในสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบละเอียดของเครื่องดื่ม
เมื่อพิจารณาระบบทั้ง 3แล้ว พบว่าล้วนให้ประโยชน์กับบริษัท จึงจำเป็นต้องคัดเลือกระบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำระบบทั้ง3 มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาระบบที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุดและสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้ดังรายละเอียดจากตาราง

จากตารางแสดงการเปรียบเทียบระบบกับวัตถุประสงค์ พบว่าแต่ละระบบสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ทั้งหมด แต่เนื่องด้วยทางบริษัทมีงบประมาณในการพัฒนาระบบจำกัด จึงต้องนำระบบทั้ง 3 มาพิจารณาใหม่อีกครั้งซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของขนาดระบบ งบประมาณและผลประโยชน์ สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้


จากการพิจารณาโครงการทั้ง 3 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดของโครงการที่ต้องการพัฒนาและผลประโยชน์จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ ระบบ-ขายสินค้า กับ ระบบบุคคลและการประสัมพันธ์ แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนของบริษัท ทางบริษัทจึงเห็นควรเลือกพัฒนาโครงการระบบขายสินค้า ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ทางบริษัทสามารถให้เงินลงทุนได้และปฏิเสธ โครงการพัฒนาระบบการบุคคลและการประชาสัมพันธ์ไปเนื่องจากใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงกว่า

การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบงานบัญชีมาใช้งาน
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือทำให้การขายสินค้าและประชาสัมพันธ์นั้นลำบาก อีกทั้งมีปัญหาในเรื่องของการเบิกจ่ายและการสั่งซื้ออาจทำให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูล ทำให้การขายสินค้าลดน้อยลงเพื่อลดปัญหาต่างๆลง ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกใน
ทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaged Software)
ทางเลือกที่ 2 ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ (Outsourcing)
ทางเลือกที่ 3 ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development)




สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
                น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
                น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
                น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
       สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ Software  B มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ทางเลือกที่ 2 : ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
                ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
                น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
                น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
                น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
        สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ B มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
แนวทางเลือกที่ 3: ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 3 ไม่มี ในที่นี้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3
         ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 6 เดือน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 300,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าสำ รองฉุกเฉิน เป็นต้น)

เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม
        ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทาง จะนำ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณา เลือกแนวทางตามที่ได้นำ เสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังนี้


ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้
 สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development) เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ 

เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบการตลาด การประชาสัมพันธ์และระบบบุคคลของบริษัทเพื่อสร้างรายได้แก่บริษัทและความพึงพอใจของลูกค้า

วัตถุประสงค์
โครงการการพัฒนาระบบการตลาด การประชาสัมพันธ์และระบบบุคคลของบริษัท มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์  ออกแบบ  และพัฒนาให้เป็นระบบงานตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้  ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบการตลาด การประชาสัมพันธ์และระบบบุคคลของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยการว่าจ้างบริษัท B มารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                ระบบต้องมีการวางแผนการตลาด
                ระบบจะต้องทำงานแบบ Multi User ได้
                ระบบต้องทำงานได้เร็วและสะดวก
                ระบบต้องมีการประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูดลูกค้า
                ระบบมีการผิดพลาดที่น้อยที่สุด
                ระบบต้องมีความถูกต้องและแม่นยำได้
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
  ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้  คือ
                การประชาสัมพันธ์ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้
                มีการวางแผนตลาดที่ไม่คล่องตัว
                การทำงานของแต่ละฝ่ายไม่แน่นอน
                ข้อมูลที่ได้มาไม่ชัดเจน
                ข้อมูลในการตลาดไม่แน่นอน ทำให้เกิดความเสียหายได้
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
                บริษัทสามารถตรวจสอบการตลาดได้
                บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
                ขั้นตอนการทำงานของระบบการตลาดและประชาสัมพันธ์ในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
                การสั่งจอง-การซื้อ ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
                การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
                ลดระยะเวลาในการทำงาน
แนวทางในการพัฒนา
     การพัฒนาระบบของบริษัท Oishi Small Group จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของ ของระบบกาตลาดและระบบบุคคล ประชาสัมพันธ์ ในส่วนของระบบการตลาดในบริษัทเพื่อเพิ่มรายได้ของบริษัท สร้างภาพพจน์ที่ดีขึ้น ตามความต้องการในระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้นจึงได้จำ ลองขั้นตอนการทำ งานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำ มาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
1.   การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2.   การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3.   การวิเคราะห์ระบบ
4.   การออกแบบเชิงตรรกะ
5.   การออกแบบเชิงกายภาพ
6.   การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7.   การประชาสัมพันธ์

ขั้นตอนที่  1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
      เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
                ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัท Oishi Small Group จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
-       ต้องการวางแผนการตลาดให้มั่นคง
-       ต้องการทราบผลกำไรที่แน่นอน
-       ตรวจสอบการสั่งจองสินค้า
ขั้นตอนที่  2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน    ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
·       เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·       กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·       วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่  3  การวิเคราะห์
1.      ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม  ดูว่าการทำงานของระบบการตลาด  มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม  และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งซื่อสินค้า
2.      การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ  ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3.      จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้    เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว   ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้   ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่  4  การออกแบบเชิงตรรกะ
                เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน  ซึ่งในการออกแบบระบบ  ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน  ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่  5  การออกแบบเชิงกายภาพ
                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบรายรับรายจ่าย  ฐานข้อมูล   เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น  ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่   6   การพัฒนาและติดตั้งระบบ
 ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่  อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้  หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่  ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
·       เขียนโปรแกรม
·       ทดสอบโปรแกรม
·       ติดตั้งระบบ
·       จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่   7   การประชาสัมพันธ์
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุง เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจในสินค้าที่เรานำเสนอ และเกิดความพึงพอใจในเครื่องดื่มและไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการทำระบบ
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง  คือการตลาด บุคคล ปละการประชาสัมพันธ์ และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
                -  ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
                -  ประมาณการใช้ทรัพยากร
                -  ประมาณการใช้งบประมาณ
                -  ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

1. ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
 ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกการตลาดทั้งคนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
พนักงานการตลาด   มีหน้าที่ ตรวจสอบการเคลื่อนไหวการตลาด เก็บรวบรวมข้อมูลการส่งออกสินค้าให้แก่ลูกค้าและติดต่อประสานงานแก่ด้านอื่นๆ
บุคลากรการคลังสินค้า มีหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าที่จะส่งออกไปจำหน่ายแก่ลูกค้าเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ บอกรายละเอียดคุณสมบัติแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือในการซื้อสินค้าของบริษัท
2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวนเครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 3 เครื่อง


สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้

1.  ผู้จัดการ
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
พนักงานการตลาด บุคลากรคลังสินค้าและประชาสัมพันธ์                      400000
2.พนักงาน
ฝึกอบรมพนักงานและผู้บริหาร 10 คน                                                           20000
วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ                                                                                       2000
3.จัดชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์:
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นworkstation                                                         80000           
อื่นๆ                                                                                                                       18000
4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน
ค่าบำรุงระบบ                                                                                                      25000
จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง
                                                                  
                    15000
รวม                                                                                                               740000
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการขาย จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจากเดือนสิงหาคม 2555 ถึงเดือนตุลาคม 2555 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบของบริษัท


ระยะเวลาดำเนินงาน 

- จำนวนวันที่ทีมงานต้องดำเนินงานไม่รวมวันหยุด อาทิตย์ละ6 วัน
- จำนวนชั่วโมงจริงในการทำงานในแต่ละวัน หรือส่วนหนึ่งของการประมาณระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่รวมช่วงพักเที่ยง

รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร 

จากการที่ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการขายปัญหาที่พบในระบบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท พนักงาน และอาจจะส่งผลต่อลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในด้านการบริการ และทางระบบสารสนเทศ ทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะนำไปพัฒนาระบบบริษัทเครื่องดื่มต่างๆ
ทั้งนี้ทางทีมงานจึงได้พัฒนาระบบ และได้ศึกษาความเป็นไปได้ทั้ง 3 ด้านของระบบนี้ประกอบด้วย ความเป็นไปได้ทางการตลาด ความเป็นไปได้ทางการปฏิบัติงาน และความเป็นไปได้ทางด้านระยการดำเนินงาน จะเป็นข้อมูลไว้ช่วยสนับสนุนโดยนำมาใช้งานดังต่อไปนี้

 1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค ทำการศึกษาทั้งทางด้าน Hardware และ Softwareของระบบเดิม ปรากฏว่าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อบนเครือข่ายแบบ LAN Application ที่ใช้ได้แก่

- Microsoft Excel
- Microsoft Word
- โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานคลังสินค้า
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน ทำการศึกษาทางด้านการปฏิบัติงานของผู้ใช้กับระบบใหม่ที่จะนำมาใช้ จากการสอบถามข้อมูลพบว่า ระบบใหม่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารงานบุคคลที่มีอยู่เดิม ทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาการนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปใช้งานได้ และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงได้
3. ความเป็นไปได้ทางด้านระยะเวลา ระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 ถึง เดือนตุลาคม 2555 ในการดำเนินงานพัฒนาระบบของบริษัท



ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ

การกำหนดความต้องการของระบบ

เมื่อโครงการพัฒนาระบบการตลาด ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)

-  ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)

บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือ “พนักงานการตลาด” การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีกาจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของพนักงานการตลาดมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล

ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้ 
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้

1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม

2. ความต้องการในระบบใหม่

3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม และรายงานของระบบเดิม

1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม 
ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LANประกอบด้วย1.1 เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows Server 2007
1.2 เครื่องลูกข่าย จำนวน 10 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP
และซอฟต์แวร์สำหรับงานสำนักงาน Microsoft Office 2007
- ฝ่ายการขายใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
- ฝ่ายคลังสินค้าใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูประบบคลังสินค้า
1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จำนวน 3 เครื่อง
2. ความต้องการในระบบใหม่ 
2.1 คำนวณจำนวนสินค้าอัตโนมัติ
2.2 สามารถแจ้งเตือนเมื่อมีการขาดส่งสินค้าเกินกำหนดได้อัตโนมัติ
2.3 สามารถคำนวณสินค้าทั้งหมดที่ส่งแล้ว
2.4 สามารถค้นหาข้อมูลของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. ความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้ 
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จังได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. การจัดทำรายงานมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
5. พนักงานทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าว สามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระบบดังนี้
1. ระบบการส่งเสริมการตลาด จะสร้างความเชื่อมั่น และกระตุ้นการตลาด มุ่งสู่ผู้บริโภค และเป็นการสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในการซื้อสินค้ากับทางบริษัท
2. ระบบบุคคล เป็นระบบที่ทำการตรวจเช็คสินค้าให้เพียงพอแก่การส่งออกในท้องตลาด
3. ระบบประชาสัมพันธ์ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์สินค้า รวมทั้งการบอกรายละเอียด คุณสมบัติ ของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ พอใจ ในการซื้อสินค้านั้นๆ


อธิบาย Context Diagram
จาก Context Diagram ของระบบการบริหารงาน Oishi ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก่ ลูกค้า เจ้าของร้าน ผู้จำหน่าย ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบ ทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบการบริหารงาน Oishi นี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Dataflow เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบ  ได้ดังนี้

1. ลูกค้า 
- มีการสั่งรายการสินค้า
ภายในระบบจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ในการคำนวณยอดชำระค่าสินค้า จากนั้นระบบจะทำการแจ้งไปยังระบบบริหารงาน Oishi

2. ผู้จำหน่าย
-
เมื่อได้รับรายการสินค้า ระบบได้คำนวณราคาสินค้าและยอดเงินทั้งหมดโดยการคำนวณจากพนักงานเบื้องต้นเพื่อแจ้งชำระค่าสินค้าของลงสู่ระบบ
- เมื่อได้รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ผู้จำหน่ายจะบอกรายละเอียดลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าที่สั่งซื้อต้องชำระในเดือนและใบเสร็จแก่ลูกค้า
3. เจ้าของร้าน
- เมื่อได้รับรายละเอียดสินค้าจากลูกค้าทั้งหมด และนำไปส่งในรายการสินค้าในคลัง

4. ประชาสัมพันธ์
- เมื่อได้รับข้อมูลรายละเอียดลูกค้า และ รายการใบเสร็จแล้ว จะทำการประมวลผลแล้ว นพเสนอสินค้ากลับไปให้ ระบบต่อไป








อธิบาย Dataflow Diagram Level 1
จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 4 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ที่รวบรวมมาได้ สำหรับการคำนวณค่างวดเกี่ยวข้องกับรายได้ของบริษัท ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.0   สั่งซื้อสินค้า เป็นระบบที่จัดการลูกค้าในเรื่องรายการสินค้าและรายละเอียดสินค้า สามารอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
- เมื่อสินค้าสั่งรายการสินค้าจะผ่านขั้นตอนภายในการรับซื้อสินค้าที่สั่งซื้อจากข้อมูลสินค้าแล้วแจ้งตรวจรับสินค้าจากแฟ้มข้อมูลความถูกต้องสินค้าแล้วแจ้งชำระค่าสินค้าจากแฟ้มข้อมูลรับสินค้า จากนั้นระบบจะทำการส่งรายละเอียดลูกค้าไปยังเจ้าของร้าน
Process 2.0   จัดเก็บสินค้า เป็นระบบที่จัดเก็บสินค้าในเรื่อง ราคาสินค้า สินค้าตัวใหม่ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
- เมื่อได้รับข้อมูลรับสินค้าจะผ่านขั้นตอนตรวจคุณภาพสินค้าจากแฟ้มข้อมูลคุณภาพสินค้าแล้วแจ้งปริมานสินค้าจากแฟ้มข้อมูลปริมานสินค้า แล้วแจ้งความถูกต้องสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้า จากนั้นระบบก็จะทำรายการจัดเก็บไปยังพนังกานการจัดเก็บ
Process 3.0 ขายสินค้า เป็นระบบที่ขายสินค้า ในเรื่อง จัดเตรียมสินค้า คำนวณสินค้าและออกใบเสร็จ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
- เมื่อได้รับรายละเอียดจะผ่านขั้นตอนจัดเตรียมสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้าแล้วแจ้งคำนวณสินค้าจากแฟ้มข้อมูลคำนวณสินค้า จากนั้นระบบจะทำการการแจ้งออกใบเสร็จและชำระค่าแก่ลูกค้า
Process 4.0 ประชาสัมพันธ์ เป็นระบบที่บอกรายละเอียดสินค้า รับใบเสร็จและนำเสนอสินค้า สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
- เมื่อออกใบเสร็จกับลูกค้า ประชาสัมพันธ์จะทำการรับใบเสร็จจากแฟ้มข้อมูลใบเสร็จแล้วแจ้งรายละเอียดสินค้าจากแฟ้มข้อมูลรายละเอียดสินค้าแล้วแจ้งนำเสนอสินค้าจากแฟ้มข้อมูลนำเสนอสินค้า จากนั้นระบบจะทำการส่งรายการสินค้าแก่พนักงานการขาย







Process  1.0 ระบบสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 4 ขั้นตอนหรือ 4 Process ดังนี้
1. Process 1.1 ข้อมูลสินค้า
 - เมื่อได้รับข้อมูลสินค้าระบบก็จะทำการดึงข้อมูลค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้าและจะแสดงรายการสินค้าให้แก่เจ้าของร้าน
 
- เมื่อลูกค้าทำการส่งรายการสินค้าที่สั่งซื้อระบบจะส่งไปยังขั้นตอนต่อไป

2. Process 1.2 ความถูกต้องสินค้า
 - เมื่อรับรายการสินค้าจากขั้นตอนข้อมูลสินค้าก็จะเข้าตรวจสอบความถูกต้องของสินค้า เพื่อเช็คความถูกต้องของสินค้าแล้วจะส่งมอบในขั้นตอนต่อไป

3. Process 1.3 คุณภาพสินค้า
 - เมื่อรับรายการความถูกต้องสินค้าก็จะเข้าขั้นตอนคุณภาพของสินค้า ระบบก็จะทำการตรวจสอบคุณภาพแล้วจะส่งมอบขั้นตอนต่อไป

4. Process 1.4 ข้อมูลการรับสินค้า
 - เมื่อทำการส่งมอบสินค้า ระบบจะทำการเช็คข้อมูลการรับสินค้า และจะส่งรายละเอียดสินค้าไปยังเจ้าของร้าน


Process  2.0 ระบบจัดเก็บสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้
1. Process 2.1 คุณภาพสินค้า
- พนักงานการจัดเก็บได้รับรายการสินค้าที่สั่งซื้อ ระบบได้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากแฟ้มข้อมูลรายการสินค้า และจะส่งมอบไปยังระบบขั้นตอนต่อไป
2. Process 2.2 ปริมานสินค้า
 
- เมื่อระบบได้รับรายการตรวจสอบคุณภาพสินค้าระบบจะตรวจปริมานสินค้าที่ลูกค้าต้องการ แล้วจะส่งมอบไปยังระบบขั้นตอนต่อไป
3. Process 2.3 ถูกต้องสินค้า
- เมื่อระบบได้ตรวจสอบปริมานสินค้าแล้วระบบจะเช็คความถูกต้องอีกครั้งแล้วออกใบเสร็จให้แก่ลูกค้า 




Process  3.0 ระบบขายสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้
1. Process 3.1 จัดเตรียมสินค้า
 
- ลูกค้าได้ทำการสั่งซื้อสินค้า ระบบจะทำการจัดเตรียมสินค้าและส่งมอบจัดเตรียมสินค้าให้กับเจ้าของร้าน
2. Process 3.2 คำนวณสินค้า
- เมื่อรับรายการจัดเตรียมสินค้า ระบบจะทำการคำนวณราคาสินค้าจากการจัดเตรียมสินค้าและจะส่งมอบข้อมูลการขายในระบบขั้นตอนต่อไป
3. Process 3.3 ออกใบเสร็จ
- เมื่อทำการคำนวณราคาและลูกค้าได้จ่ายยอดชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้วก็จะทำการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ลูกค้า

Process  4.0 ระบบประชาสัมพันธ์ มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้
1. Process 4.1 ข้อมูลใบเสร็จ
 
- เมื่อพนักงานการขายได้รายการใบเสร็จจะตรวจสอบข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้าแล้วจะส่งมอบในระบบขั้นตอนต่อไป
2. Process 4.2 รายละเอียดลูกค้า
 
- พนักงานการขายจะบอกรายละเอียดของสินค้าให้กับลูกค้าโดยจะรายละเอียดจากข้อมูลใบสั่งจองสินค้า
3. Process 4.3 นำเสนอสินค้า
 
- ระบบจะนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าต้องการโดยดึงข้อมูล จากแฟ้มข้อมูลการขายและจะส่งรายการสินค้าแก่พนักงานการขาย    



การออกแบบ User Interface






บริษัท โออิชิ Small  จำกัด มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็น LAN ดังนั้นในการออกแบบ Application ขั้นตอนนี้ ทางทีมงานจึงเห็นควรว่าระบบการตลาด สำหรับการตลาดนั้นจะเป็นการกระจายเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบเครือข่ายเดิม <LAN> ที่มีรูปแบบเป็น Client/Sever
1. ระบบการสั่งซื้อสินค้า  สามารถดูข้อมูลได้ตามความต้องการ สามารถตรวจสอบข้อมูลของสินค้านั้น ตรวจสอบความถูกต้อง คุณภาพสินค้า และข้อมูลการรับสินค้า สามารถดำเนินการสั่งสินค้าได้
2. ระบบจัดเก็บสินค้า สามารถดูการจัดเก็บสินค้าที่ลูกค้าต้องการสินค้า บริษัทสามารถนำสินค้าไปจำหน่าย ทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าและลูกค้าสามารถเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการได้โดยไม่เสียเวลา
3. ระบบการขายสินค้า  สามารถเรียกดูข้อมูลจากระบบการขายสินค้าได้ คือ การจัดเตรียมสินค้าข้อมูล คำนวณสินค้า สามารถคำนวณได้รวดเร็วและว่องไวในการขายสินค้า
4. ระบบประชาสัมพันธ์ ระบบนี้จะประชาสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อดึงดูดความสนใจโดยนำเสนอสินค้าตัวใหม่ๆ โดยที่ระบบจะต้องนำข้อมูลสินค้าใหม่ๆ มาใส่ระบบนี้บ่อยมากขึ้น


การพัฒนาและติดตั้งระบบ
    ทีมงานได้จัดทำ เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมการตลาด เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. แนะนำ โปรแกรมระบบงานการตลาด
    โปรแกรมระบบการตลาด เป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด
4 ระบบ ได้แก่
1.1 ระบบสั่งซื้อสินค้า เป็นระบบทีจัดการข้อมูลสินค้า สามารถตรวจสอบการซื้อสินค้าในท้องตลาด สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายมากขึ้น และเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในระบบอื่นๆ เช่น การตรวจสินค้าที่บริษัทสั่งซื้อนั้น ถูกต้องหรือไม่ ข้อมูลการซื้อ-ขายของแต่ละเดือน
1.2  ระบบจัดเก็บสินค้า เป็นระบบที่จัดเก็บสินค้า สามารถเช็คสินค้าโดยที่จะพร้อมจะจำหน่ายในท้องตลาดโดยไม่ให้ลูกค้าเกิดการรอคอย เช่น การตรวจสินค้าพร้อมที่จะส่งให้แก่ลูกค้า
1.3  ระบบการขายสินค้า เป็นระบบการขายสินค้าสามารถตรวจสอบสินค้าที่บริษัทจะออกจำหน่าย ยังสามารถบอกรายละเอียดแก่ลูกค้า สามรถคำนวณราคาสินค้าให้แก่ลูกค้าไดทันทีของแต่ละเดือน
1.4  ระบบประชาสัมพันธ์  เป็นระบบที่ติดต่อกับลูกค้ามากที่สุด จะตรวจสอบสินค้าที่ลูกค้าต้องการและยังเสนอสินค้าตัวใหม่ให้กับลุกค้า สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายมากขึ้น


ประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่จะออกจำหน่ายให้กับลูกค้าและสามารถบอกรายละเอียด คุณสมบัติของสินค้า ประโยชน์ของสินค้า เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้าด้วย


1 ความคิดเห็น: